โรคหลอดเลือดสมอง
" นายกรัฐมนตรีหญิงคนเดียวของอังกฤษ ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยม ชนะการเลือกตั้งถึง 3 สมัย ตั้งแต่ปี 2522-2533 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ถุงแก่อสัญกรรมด้วย โรคเลือดสมอง เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2013 รวมอายุ 87 ปี " โรคหลอดเลือดสมองหมายถึงอะไร
ถ้ากล่าวถึง โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) จะหมายถึง โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischmic stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองแตก (Intracranlal hemorrhage) โดยอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน พบสูงกว่าโรคหลอดเลือดสมองแตกประมาณสี่เท่า
ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischmic stroke) เกิดจากการอุตตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดอาการผิดปกติของการทำงานของร่างกายในส่วนที่สมองนั้นๆ ควบคุม เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย ได้แก่
- เกิดจากเส้นเลือดใหญ่ในสมองแข็งและตีบตัน (artherothrombosis) ทำให้เนื้อสมองตายเป็นบริเวณกว้างและอาจเกิดสมองบวมกดเนื้อสมองข้างเคียงตามมาได้ - เกิดจากลิ่มเลือดมาจากหัวใจหลุดมาอุดเส้นเลือดในสมอง (cardioembolism) มักพบร่วมกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrlal flbrlllatlon) หรือเป็นก้อนเล็กๆ หลุดมาจากผนังของเส้นเลือดใหญ่ที่เสื่อมสภาพ (artery to artery embolism) - เกิดจากการเสื่อมของเส้นเลือดเส้นเล็ก (lacunar infarclion) บริเวณเนื้องอกสมองที่ตายจะไม่มากแต่ผู้ป่วยอาจจะอ่อนแรงมากๆได้ ถ้าอาการคงอยู่ไม่เกิด 24 ชั่วโมงจะเรียกว่าเป็น การขาดเลือดแบบชั่วคราว (Translent ischemic attack) หรือ TIA หรือ Mini ? storoke ซึ่งส่วนใหญ่อาการมักนานไม่เกินครึ่งชั่วโมง ความสำคัญ คือ ถ้าเกิดการขาดเลือดแบบชั่วคราว (TIA) แล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันถาวร ตามมาได้ถึง 1 ใน 10 คน ในสัปดาห์แรก และประมาณ 2 ใน 10 คน ในเดือนแรก หลังจากนั้นโอกาสจะน้อยลงเป็นประมาณ 4-5 ใน 100 คนต่อปี แพทย์จึงเน้นให้ผู้ป่วยที่สงสัยว่าตนมีอาการของการขาดเลือด แบบชั่วคราวมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ให้การรักษาก่อนที่จะมีอาการของสมองขาดเลือดและเนื้อสมองตายอย่างถาวร อาการที่จะทำให้คิดถึงโรคหลอดเลือดสมอง (ตีบตันหรือแตก)
- อาการทางระบบประสาทที่เป็นอย่างรวดเร็ว หรือ ทันที (sudden) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดจากลิ่มเลือดหลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสมอง (embolic stroke) หรือเส้นเลือดแดงในสมองแตก (intracranial hemorrhage) แต่ในรายที่เส้นเลือดค่อยๆ ตีบตันอาการจะเป็นแบบค่อยๆ มากขึ้นแล้วคงที่สักพัก แล้วก็แย่ลงไปเรื่อยๆ เหมือนขั้นบันได (stepwise) ในเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน - แขนขาชา อ่อนแรง เดินเซ - หน้า/ปากเบี้ยว - พูดไม่ชัด พูดไม่เป็นภาษา หรือไม่เข้าใจภาษา - เวียนศีรษะตลอดเวลาโดยไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนท่าทาง - เห็นภาพซ้อน ตาบอดชั่วขณะ มองไม่เห็นครึ่งซีก
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ ทั้งนี้โอกาสที่จะเกิดโรคในแต่ละคนแตกต่างกันขึ้นกับปัจจัยที่เสี่ยง เช่น อายุมาก เพศชาย เชื้อชาติ และการมีประวัติคนในครอบครัวป่วย ด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่า คนอายุน้อย เพศหญิง และ คนไม่มีประวัตืในครอบครัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือเปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยิอื่น ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัจจัยเสี่ยงกลุ่มนี้สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนได้ด้วยการรักษาต่อเนื่อง และการใส่ใจดูแลตนเองของผู้ป่วย |