ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดสมองต้องมั่นใจ...พญาไทคือผู้เชี่ยวชาญ
โรคหลอดเลือดสมอง...อันตราย!
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในประชากรไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เกิดโรคและมีการรุนแรงแต่รอดชีวิตจากโรคนี้จำนวนหนึ่งต้องเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ใช้ชีวิตได้อย่างไม่ปกติเหมือนเคย ไม่สามารถดูแลตนเองได้ เป็นภาระของครอบครัวในระยะยาว
ศูนย์รักษาสมอง โรงพยาบาลพญาไท...เตรียมพร้อมรอบด้าน ครบครัน
จากมหันตภัยของโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าว ศูนย์สมองพญาไท มีความตระหนักดี จึงได้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตของผู้ป่วย เตรียมทีมแพทย์เฉพาะทางโรคสมองทั้งอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่รังสีและบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ผ่านการอบรม มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมรับมือกับผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองตลอด 24 ชั่วโมง มีการเตรียมสถานที่ เครื่องมือ เทคโนโลยี เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ รวดเร็ว การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างระบบงานที่ดีช่วยให้การประสานงานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพสอดประสานกันอย่างรวดเร็วไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการกำหนดแผนการรักษาผู้ป่วยเฉพาะราย สร้างระบบช่องทางด่วนพิเศษ ?Stroke Fast Track? และใช้เทคโนโลยีช่วยสื่อสารระบบ 3G ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เพิ่มโอกาสของการรอดชีวิต ลดอัตราความพิการได้อย่างมาก
โรงพยาบาลรักษาสมอง พญาไท...ผู้บุกเบิกนวัตกรรมการรักษา
เตรียมหอผู้ป่วยโดยเฉพาะ ไว้สำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เรียกว่า ASU (Acute Stroke Unit) มีทีมพยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงและมีทีมสหสาขาวิชาชีพวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกัน เช่น นักกายภาพบำบัดช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน โภชนากรจัดเตรียมอาหารเฉพาะโรค พยาบาลเตรียมด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างครบครัน นับได้ว่าโรงพยาบาลพญาไทเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่มี ASU เป็นไอซียูเฉพาะทางของผู้ป่วย Stroke
การลากก้อนเลือดออกจากสมอง นอกจากการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบด้วยยาละลายลิ่มเลือดแล้ว ยังมีนวัตกรรมการรักษาที่สำคัญและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยรักษาดูแล นั่นคือ การลากก้อนเลือด (Clot Retrieval) เป็นการทำหัตถการนำก้อนเลือดที่อุดตันออกจากสมองโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
หุ่นยนต์อัจฉริยะ การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ดี การฟื้นตัวล่าช้าทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ส่งผลให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงและอาจเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้มีความพิการมากกว่าเดิม ฉะนั้นเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงจำเป็นจะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างครบวงจร โรงพยาบาลพญาไทจึงได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เรียกว่าหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Robot trainer) มาฝึกการเคลื่อนไหว เสริมสร้างกล้ามเนื้อแขนและขาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต นับว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาช่วยฟื้นฟูฝึกเดิน ฝึกการใช้มือ ด้วยเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรได้เองอย่างปกติเช่นเดิม
วิกฤต! โรคหลอดเลือดสมอง...ต้องรวดเร็วฉับไว
จักรยานยนต์กู้ชีพ (Ambubike) เป็นหน่วยปฐมพยาบาลเคลื่อนที่เร็ว ที่ศูนย์สมองพญาไทได้เตรียมพร้อม เนื่องจากปัญหาการจราจรทำให้รถพยาบาลเข้าถึงตัวผู้ป่วยได้ลำบาก แต่โรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถที่จะรอเวลาได้ เนื่องจากสมองขาดเลือดนานจะมีโอกาสฟื้นตัวได้น้อยลง และในบางครั้งอาการของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงเร็ว ซึ่งอาจทำให้หมดสติและหยุดหายใจ หน่วยปฐมพยาบาลมีความเชี่ยวชาญในการประเมินอาการและช่วยเหลือเบื้องต้น จะสามารถเข้าถึงตัวผู้ป่วยก่อนที่รถพยาบาลจะเข้าถึง
หน่วยกู้สมองเคลื่อนที่ (Mobile Stroke Unit) นอกจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จะมีอาการเปลี่ยนแปลงได้เร็วแล้ว อีกประการที่สำคัญอย่างยิ่งคือการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบด้วยยาละลายลิ่มเลือดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องเริ่มให้ภายในเวลาไม่เกิน 3 - 4.5 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการผิดปกติทางสมอง ได้แก่ อาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง แต่ปัญหาการจราจรทำให้ผู่ป่วยจำนวนมากพลาดโอกาสของการรักษานี้ เพราะไปโรงพยาบาลไม่ทัน ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทาง เมื่อถึงโรงพยาบาลจึงเริ่มกระบวนการวินิจฉัยแยกโรค ทำให้ไม่สามารถรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้ทัน ส่งผลให้สมองขาดเลือดนานเกินไปจนยากแก่การฟื้นตัว กลายเป็นอัมพาตตลอดชีวิต บางรายรุนแรงถึงแก่ชีวิต
จากเหตุผลดังกล่าวศูนย์สมองพญาไทจึงได้เตรียมไอซียูเคลื่อนที่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เรียกว่า หน่วยกู้สมองเคลื่อนที่ ซึ่งมีความสามารถประเมินอาการ ตรวจวินิจฉัยแยกโรคในระหว่างเดินทาง เนื่องจากในรถพยาบาลมีความพร้อม มีแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่เชี่ยวชาญ มีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สามารถถ่ายภาพสมอง มีระบบสื่อสาร 3G ช่วยสื่อสารที่ชัดเจนกับโรงพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการเตรียมพร้อมรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง การรักษาเริ่มได้...ในรถพยาบาล คือเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ สามารถรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงโรงพยาบาล การรักษาที่ทันเวลาช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตและหายจากโรคได้มากขึ้น
Stroke Fast Track...เส้นทางด่วนพิเศษ
ศูนย์รักษาสมอง พญาไท ได้มีการจัดระบบเพื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มตั้งแต่ได้รับการแจ้งจากผู้ป่วยทางศูนย์ hot line 1772 โดยส่ง Ambubike, Mobile Stroke Unit ออกไปรับ หรือหากญาตินำส่งมาถึงโรงพยาบาลเองก็ตาม ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับการประเมินและจัดให้บริการแบบด่วนพิเศษเรียกว่า Stroke Fast Track ไม่ต้องรอคิวร่วมกับผู้ป่วยอื่นๆ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว การรักษาที่ทันเวลา ทีมแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะมีความเข้าใจเป็นอย่างดี ทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการสื่อสารและอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา บรรเทาให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี
สหสาขาวิชาชีพ (MDT Neurology)...ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ระบบ MDT Neurology (Multidisciplinary team) เป็นระบบการทำงานที่โรงพยาบาลพญาไทสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง โรคสมอง อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ช่วยการวินิจฉัยที่ชัดเจน รังสีแพทย์เฉพาะทางรังสีร่วมรักษา (Intervention Radiology) สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดต่างๆ เช่น การลากก้อนเลือด แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง นักรังสีเทคนิค นักกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เภสัชกร โภชนากรเตรียมอาหารเฉพาะโรค เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีความสำคัญแค่อัตรากำลัง แต่ยังมีระบบงานที่ต้องทำอย่างสอดคล้องกัน มีการประชุมวางแผนดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีรายละเอียดของอาการและปัญหาที่ซับซ้อนแตกต่างกันไป และต้องติดตามประเมินผลของการดูแลรักษาตลอดเวลา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน คือผู้ป่วยปลอดภัย และกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่กับครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข
ลากก้อนเลือด (Clot Retrieval) นวัตกรรมการรักษา...เพิ่มทางเลือก
ในกรณีที่ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ทางหลอดเลือดดำแล้วไม่ได้ผล เนื่องจากลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมาไม่ทันเวลาที่เหมาะกับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ศูนย์รักษาสมอง พญาไท ยังมีทางเลือกให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่เรียกว่า การลากก้อนเลือด ซึ่งในต่างประเทศได้รักษาด้วยวิธีนี้มานานและเป็นที่รู้จักแพร่หลายพอสมควร แต่สำหรับประเทศไทยนับว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะโรงพยาบาลที่จะทำนั้นต้องมีความพร้อมทางเทคโนโลยีที่ช่วยให้การรักษามีความแม่นยำ ผู้ป่วยจึงปลอดภัย และองค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ แพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ในเรื่องของหลอดเลือดและเรื่องการเอกซเรย์พิเศษที่เรียกว่ารังสีแพทย์เฉพาะทางรังสีร่วมรักษา (Intervention Radiology) ซึ่งโรงพยาบาลพญาไทมีความพร้อมทุกด้าน
การลากก้อนเลือดเป็นหัตถการที่แพทย์เอาก้อนเลือดที่อุดตันออกจากสมองโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ด้วยการใส่สายสวนผ่านทางหลอดเลือดไปที่สมองแล้วใช้ขดลวดพิเศษที่มีขนาดเล็กเกี่ยวก้อนเลือดออกจากสมอง เปิดทางเดินของหลอดเลือดให้เลือดสามารถไหลเวียนผ่านจุดที่เคยอุดตันไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดเลือดได้อีกครั้ง ช่วยให้สมองส่วนนั้นได้มีโอกาสฟื้นฟู ส่งผลให้ร่างกายผู้ป่วยฟื้นตัว ช่วยลดอัตราความพิการ
หุ่นยนต์อัจฉริยะ (Robot Trainer) ... ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการฟื้นฟู
การทำกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ปลอดภัยจากภาวะโรคแทรกซ้อน แต่การทำกายภาพแบบเดิมๆ มีข้อจำกัดหลายประการ หากต้องการฝึกให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าและบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่ใช้งานมากเกินไป และไม่สามารถกำหนดความเร็วที่เหมาะสมได้ รพ.พญาไท เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกการเคลื่อนไหว (Robot Trainer) มาช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขนและขาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ทำให้ผู้ป่วยสามารถฝึกเดินได้นานขึ้น สามารถกำหนดแรงและความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย มีระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลการฝึกของผู้ป่วย ทำให้ผู้เชี่ยวชาญนำข้อมูลไปใช้วางแผนพัฒนาการรักษาในครั้งต่อๆ ไป ดังนั้นหุ่นยนต์อัจฉริยะเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการฟื้นฟูร่างกาย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง อีกทั้งช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการฝึก ไม่เหนื่อยหรือเมื่อยล้าเกินไปจากการฝึกแบบเดิมๆ
พญาไท..โรงพยาบาลรักษาสมอง...ศูนย์รวมแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมอง
คุยกับแพทย์รักษาสมอง...
นพ.สุรัตน์ บุญญะการกุลความชอบส่งผลให้เกิดความเชี่ยวชาญจากความชื่นชอบในเรื่องของระบบประสาทวิทยามาตั้งแต่ที่เป็นนักศึกษาแพทย์ ส่งผลให้ทำคะแนนได้ดีมากในด้านนี้ตลอดในช่วงการเรียน ด้วยความมุ่งมั่นที่ชัดเจน คุณหมอก็เลือกเรียนเฉพาะทางในด้านระบบประสาทวิทยาต่อเนื่องทันที พร้อมกับการศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ด้านโรคสมองและระบบประสาทอยู่เสมอ |
จากความชื่นชอบในเรื่องของระบบประสาทวิทยามาตั้งแต่ที่เป็นนักศึกษาแพทย์ ส่งผลให้ทำคะแนนได้ดีมากในด้านนี้ตลอดในช่วงการเรียน ด้วยความมุ่งมั่นที่ชัดเจน คุณหมอก็เลือกเรียนเฉพาะทางในด้านระบบประสาทวิทยาต่อเนื่องทันที พร้อมกับการศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ด้านโรคสมองและระบบประสาทอยู่เสมอ
เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์เชิงลึก จากสถาบันชั้นนำระดับโลก
คุณหมอสุรัตน์ได้เล่าเพิ่มเติมว่า... หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านประสาทวิทยาที่ รพ.รามาธิบดีอาจารย์หมอจึงได้แนะนำให้คุณหมอไปศึกษาเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์กับอาจารย์แพทย์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในความสามารถทางโรคทางหลอดเลือดสมอง ที่สหราชอาณาจักร เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง คุณหมอก็ตั้งใจปฏิบัติงานและศึกษาอย่างจริงจัง ได้รับความรู้และประสบการณ์ทางด้านนี้มาเป็นอย่างลึกซึ้ง เมื่อกลับมาเมื่อไทย คุณหมอมีความมั่นใจที่จะดูแลผู้ป่วยในเรื่องของโรคหลอดเลือดและระบบประสาท เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอัมพาตในเมืองไทยให้เห็นผลอย่างชัดเจน
ความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะทาง สร้างมาตรฐานระดับสูงในการรักษา
คุณหมอนักบริหารมีความเชื่อมั่นว่า... ?ถ้าเรามุ่งมั่นชัดเจนไปในเรื่องนั้นๆ อย่างทุ่มเท เราก็จะสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพสูงสุด? แนวคิดนี้คุณหมอนำมาใช้ในการพัฒนาศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Acute Stroke Unit) ที่ รพ.พญาไท 1 จนเป็นศูนย์หลอดเลือดสมองที่มีประสิทธิภาพสูงในการรองรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ครบถ้วนทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูง
ด้วยมืออาชีพ...เน้นความฉับไว ปลอดภัย พันวิกฤติ
สร้างระบบงานที่สามารถไปถึงผู้ป่วยได้รวดเร็วหลังจากได้รับแจ้งเหตุ เพื่อดูอาการเบื้องต้นและปฐมพยาบาลในขั้นต้นได้ก่อนอย่างทันท่วงที ที่เรียกว่า Stroke Fast Track และมีระบบการสื่อสารกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านทางช่องทางสื่อสารแบบ 3G ทำให้แพทย์ได้เตรียมการรักษาได้ทันทีที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้พ้นจากภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการทำกายภาพบำบัดที่สมบูรณ์ ช่วยให้ปลอดภัยจากภาวะโรคแทรกซ้อน หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพียงแค่มา รพ.พญาไท คุณจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีแบบมืออาชีพ ลดอัตราเสี่ยงในภาวะคับขันได้อย่างมั่นใจ
รศ.นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษาโรคหลอดเลือดสมองและภาวะวิกฤติทางสมอง โรงพยาบาลพญาไท 2 แรงบันดาลใจของ แพทย์รักษาสมองรศ.นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองและภาวะวิกฤติทางสมอง ให้ความสำคัญกับการรักษาโรคทางสมองตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นนักศึกษาแพทย์ เนื่องจากเห็นว่าการรักษา ภาวะวิกฤติทางสมองค่อนข้างยาก มีความท้าทาย อีกทั้งต้องใช้ทักษะและความละเอียดอ่อนในการรักษา ทั้งยังมองว่าหากได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้วิทยาการด้านการแพทย์ที่ทันสมัย จะช่วยรักษาชีวิตผู้คนและลดความเสี่ยงพิการได้ |
นำความรู้และประสบการณ์ในระดับสากล...กลับมาช่วยเมืองไทย
?หมอมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา โดยทำหน้าที่ผู้ช่วยแพทย์และผู้ช่วยพยาบาลที่โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคหลอดเลือดสมองและภาวะวิกฤตทางสมอง ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์สำคัญ และกว่าจะฝ่าฟันมาได้ก็ถือว่าเราทุ่มเทให้กับการรักษาโรคทางสมอง ผ่านบททดสอบสำคัญ หมอไม่ได้มีสัญชาติอเมริกัน แต่สถาบันก็ยอมรับเราเข้าทำงาน ก่อนตัดสินใจกลับไทยเพราะรู้สึกว่าต้องนำวิทยาการแพทย์กลับมาบ้านเรา มาช่วยคนไข้บ้านเรา ซึ่ง Hypothermia จะช่วยเหลือผู้ป่วยในบ้านเราได้เป็นจำนวนมาก?
ทุ่มเทด้วยหัวใจ?บุคคลต้นแบบ
เป็นทั้งแพทย์และอาจารย์แพทย์ในคราวเดียวกัน ด้วยเชื่อมั่นว่าการถ่ายทอดความรู้จะเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยได้อีกจำนวนมาก ทั้งยังศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองและภาวะวิกฤติทางสมองตลอดมา จนในปี 2555 คุณหมอได้รับเลือกให้เป็น บุคคลต้นแบบการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ ?เครือข่ายโรคหลอดเลือดสมอง" นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ริเริ่มการใช้เทคนิค Hypothermia ในประเทศไทย โดยเป็นการลดอุณหภูมิร่างกายในการรักษาผู้ป่วยหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการปั๊มหัวใจกลับมา โดยเทคนิคนี้จะเป็นการป้องกันภาวะการเป็นเจ้าหญิงนิทรา ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้คนไทยไม่สูญเสียโอกาสในการรักษา
ความประทับใจ : หัวใจหยุดเต้นกว่า 10 นาที ... รักษาจนฟื้นเป็นปกติ
ประสบการณ์รักษา... ผู้ป่วยรายหนึ่ง มีภาวะวิกฤติหัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยล้มฟุ้บในที่สาธารณะ หัวใจหยุดเต้น ได้รับการปั๊มหัวใจอยู่ราว 10 นาที จนกระทั่งทีมรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลพญาไท 2 ได้รับแจ้งเหตุและเดินทางถึงที่เกิดเหตุ แพทย์ทำการกู้ชีพนานถึง 47 นาที จนสัญญาณชีพจรกลับมา ผู้ป่วยได้รับการเคลื่อนย้ายกลับมาที่โรงพยาบาล แต่ด้วยความที่หัวใจหยุดเต้นไปนานกว่า 10 นาที ถือว่ามีความเสี่ยงพิการเป็นเจ้าชายนิทราค่อนข้างสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สมองตาย คุณหมอจึงเลือกใช้เทคนิค Hypothermia กับผู้ป่วยรายนี้ ปัจจุบันสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
นพ.จิระพัฒน์ อุกะโชคแพทย์หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 3 แรงจูงใจในการศึกษาเฉพาะทางแรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจมุ่งมั่นศึกษาเฉพาะทาง เพื่อที่จะเป็นแพทย์ทางด้านระบบประสาทและสมอง ก็เพราะว่าโรคนี้มีความซับซ้อนต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการดูแลรักษาคนไข้ เพื่อที่จะทำให้สามารถช่วยเหลือคนได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งกว่า 30 ปีที่ดูแลคนไข้ทางด้านระบบประสาทและสมอง คุณหมอรู้สึกภูมิใจมากในทุกๆ ครั้งที่ได้ช่วยให้คนไข้ปลอดภัยพ้นจากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น |
แพทย์เฉพาะทาง ต้องตื่นตัวเตรียมพร้อมตลอดเวลา
ด้วยตัวโรคที่เกิดขึ้นมักเป็นกรณีฉุกเฉินและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แพทย์เฉพาะทางจึงต้องพร้อมทำการรักษาในทุกสถานการณ์ มีความตื่นตัวแม้ในตอนที่นอนหลับ ทานข้าว หรือในวันหยุด เราก็ต้องรีบผละจากสิ่งที่ทำอยู่ในตรงนั้นมาทันที และเมื่อมาถึงคนไข้แล้วก็ต้องใช้ดุลยพินิจด้วยความเชี่ยวชาญ ตรวจรักษา วินิจฉัยอาการด้วยประสบการณ์ความชำนาญ พร้อมกับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้คนไข้โรคทางสมองและระบบประสาทปลอดภัย และมีผลค้างเคียงน้อยที่สุด
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาท ประจำศูนย์สมองโรงพยาบาลพญาไท มีความรู้เฉพาะทาง จากสถาบันที่มีชื่อระดับประเทศและต่างประเทศจบการศึกษาระดับปริญญาตรี แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับวุฒิบัตรแพทย์ประจำบ้านอายุรกรรมประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และวุฒิบัตรอายุรกรรมประสาท จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาโรคภูมิคุ้มกันทางระบบประสาท (Neuro-immunology) และได้รับ Certificate of Reaserch Neuro-immunology Fellowship จาก Mayo Clinic, Rochester, MN, USA |
ความภาคภูมิใจ...ของแพทย์ ของหมอเฉพาะทาง
แพทย์เฉพาะทางโรคหลอดเลือดสมองและระบบประสาทจะต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลา เพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติของผู้ป่วยให้ปลอดภัย เป็นงานที่หนักและสละเวลาส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเห็นผู้ป่วยรอดชีวิตและพ้นจากความพิการจากการรักษา สามารถกลับไปมีความสุขกับครอบครัวได้เช่นเดิม ย่อมทำให้รู้สึกมีความสุขใจ ภาคภูมิใจ รู้สึกว่าคุ้มค่ากับการทำงานอันหนักหน่วง
ประชาชนต้องรู้จักสัญญาณอันตราย
เมื่อมีอาการผิดปกติทางสมอง หน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ควรดูแลตนเอง ให้ห่างไกลจากโรคอัมพาต
?รับประทานอาหารครบ 5 หมู่อย่างได้สัดส่วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพประจำปี หากพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรรีบรักษาจึงจะสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เพราะโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ละเลยการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง? คุณหมอกล่าวฝากความห่วงใย
มั่นใจ โรงพยาบาลพญาไท เชี่ยวชาญ รักษาสมอง
ทีมแพทย์เฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท ของศูนย์สมองพญาไทยังมีอีกหลายท่าน ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทีมแพทย์ของเรา สามารถรับมือกับภาวะวิกฤติได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเป็นสิ่งสำคัญสุด แต่..หากเกิดอาการผิดปกติทางสมอง เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง คนใกล้ชิดควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หรือรีบแจ้งสถานพยาบาลที่ท่านคุ้นเคยหรือโทร.สายด่วน 1772 ของโรงพยาบาลพญาไท เพื่อส่งรถพยาบาลไปรับ ซึ่งทางศูนย์รักษาสมองพญาไท เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินของผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติทางสมองตลอด 24 ชั่วโมง
?ศูนย์สมองพร้อมรักษา พญาไทแพทย์เชี่ยวชาญ ปรึกษาเราวันนี้ โทร.ฟรี 1772?