รู้มั๊ยว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ถ้าปล่อยไว้ไม่รีบรักษา คุณอาจจะกลายเป็นอัมพาตได้ งั้นเรามาเริ่มจากสำรวจตัวเองกันก่อนดีกว่ากับควิซนี้ ที่จะประเมินความเสี่ยงให้คุณได้
1. คุณมีความดันโลหิตที่เท่าไหร่
A: มากกว่า 140/90 หรือไม่แน่ใจ
B: 120-140/80-90
C: น้อยกว่า 120/80
2. คุณมีค่าโคเลสเตอรอลเท่าไหร่
A: มากกว่า 240 หรือไม่แน่ใจ
B: 200-240
C: น้อยกว่า 200
3. คุณเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
A: เป็นโรคเบาหวาน
B: ไม่แน่ใจ แต่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
C: ตรวจแล้ว พบว่าไม่เป็นโรคเบาหวาน
4. คุณสูบบุหรี่หรือไม่
A: สูบเป็นประจำ
B: เมื่อก่อนสูบเป็นประจำ แต่ตอนนี้กำลังพยายามเลิกอยู่
C: ไม่สูบ
5. คุณเป็นโรคหัวใจหรือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
A: เป็นโรคหัวใจ หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
B: ไม่แน่ใจ
C: ตรวจแล้ว ไม่เป็นโรคหัวใจ และไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
6. คุณมีดัชนีมวลกายเท่าไหร่ **คำนวณโดย BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ความสูงxความสูง (เมตร)
A: น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (ค่า BMI มากกว่า 25)
B: น้ำหนักเกือบเกินมาตรฐาน (ค่า BMI อยู่ระหว่าง 23 -25)
C: น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน (ค่า BMI อยู่ระหว่าง18.50-22.90)
7. คุณออกกำลังกายหรือไม่
A: ไม่ออกกำลังกายเลย
B: ออกกำลังกายบ้างบางครั้ง
C: ออกกำลังกายเป็นประจำ
8. คุณมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่
A: มี
B: ไม่แน่ใจ
C: ไม่มี
เสร็จแล้ว ก็มาดูผลการประเมินกันเลย ว่าคุณเข้าข่ายมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่
ตอบข้อ A มากกว่า 3 ข้อ : คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้วล่ะ เราแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตัวเองจากโรคหลอดเลือดสมอง
ตอบข้อ B 4-6 ข้อ : ถึงคุณจะไม่ได้เข้าข่ายมีความเสี่ยงสูง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคุณไม่มีความเสี่ยงเลย เพราะฉะนั้นอย่าลืม หันมาดูแลสุขภาพตัวเองไว้ด้วยล่ะ
ตอบข้อ C 6-8 ข้อ : ยินดีด้วย!! คุณควบคุมความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างดี แต่ก็ห้ามละเลยการดูแลสุขภาพเช่นกันนะ
Tips !!!!
สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เรามีคู่มือดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงมาบอกกัน
1.ควบคุมความดัน เพราะเมื่ออายุของเรามากขึ้น ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นตาม ดังนั้นเราควรตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
2.สำหรับใครที่เป็นโรคเบาหวานให้พยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไว้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.งดสูบบุหรี่ ยิ่งถ้าคุณสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ 1 ปี จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงลงได้ครึ่งหนึ่ง !
4.ถ้าคุณมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF: Atrial Fibrillation) ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด
5.ควบคุมระดับไขมันในเลือด (โคเลสตอรอล) โดยอาจจะเริ่มต้นจากการรับประทานอาหารที่ดี และรับประทานยาลระดับไขมันในเลือดตามคำสั่งของแพทย์
6.การออกกำลังกาย ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมดังต่อไปนี้
-ออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 60 นาที
-ออกกำลังกายระดับปานกลาง ประมาณ 30-60 นาที
-ออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ประมาณ 20-30 นาที
7.ควรงดดื่มแอลกอฮอล์
8.ควบคุมน้ำหนักตัวด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีแคลลอรี่สูง และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ อาหารประเภทธัญพืช และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มเกินไปหรือผ่านกระบวนการปรุงด้วยเกลือ เช่น อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง หรืออาหารกระป๋องเป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลพญาไท 1
www.phyathai.com