นายแพทย์สุรัตน์ บุญญะการกุล
ผู้อำนวยการศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง
โรงพยาบาลพญาไท 1
อัมพฤกษ์ อัมพาต ระยะวิกฤตหรือระยะเฉียบพลัน หมายถึง โรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ป่วยมีอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตครึ่งซีกของร่างกาย ในระยะที่เป็นใหม่ๆช่วง 7 วันแรก ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้ป่วยต้องการการรักษาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด ที่มีความชำนาญ ในห้องที่มีเครื่องมือที่ทันสมัย และเหมาะสมกับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke Unit) เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการเลวลง (progressive stroke) ลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนจากการที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้ (stroke complications) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิด ปอดอักเสบจากการสำลักอาหารที่เป็นของเหลวหรือน้ำลายเข้าปอด (aspiration pneumonia)
อัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันเกิดได้อย่างไร
อัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (Acute stroke) เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการคือ
1. สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ( Acute ischemic stroke) อาจจะเป็นจาก
i หลอดเลือดที่เลี้ยงสมองมีการเสื่อมเกิดการแข็งตัวค่อยๆตีบลงจนอุดตันในที่สุด
ii มีลิ่มหลุดจากหัวใจหรือหลอดเลือดแดงเส้นใหญ่ๆที่คอ ไหลไปอุดตันในสมอง
iii ความดันเลือดลดต่ำลงจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ
|
|
2. เลือดออกในสมอง (Acute hemorrhagic stroke) ซึ่งเลือดอาจจะออกบริเวณ
i เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage) จากการที่มีอายุมากร่วม
กับเป็นความดันสูงมานาน ทำให้หลอดเลือดเล็กๆในสมองค่อยโป่งออกแล้วแตก
ออก
ii เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง (Subarachnoid hemorrhage) จากการแตกของ
หลอดเลือดที่โป่งพองที่ฐานสมอง อาการของภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน |
|
อัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันมีอาการที่เกิดโดยเฉียบพลันดังนี้
- แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่มีแรงยกแขน มือกำไม่ได้ ของหลุดจากมือเวลาต้องการถือของ ไม่มีแรงเดิน เดินเซ ยกขาไม่ขึ้น
กระดกเท้าไม่ได้
- หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิทข้างเดียว กินน้ำน้ำไหลจากมุมปาก
- พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้คล้ายคนเมาเหล้า นึกคำไม่ออก ใช้คำพูดผิด หรือบางรายอาจพูดไม่ได้เลย
- ฟังคนพูด (ภาษาไทย) ฟังไม่ออก ถามอย่างตอบอย่าง
- ชาใบหน้า ชาครึ่งซีกร่างกาย ชาหนาๆคล้ายถูกฉีดยาชา
- เห็นภาพซ้อน มองเห็นซีกเดียวของลานสายตา เดินชนของ ขับรถชนรถคันอื่นหรือของที่ตั้งไว้ข้างถนน(จากการมอง
ไม่เห็นด้านข้าง)
- กลืนไม่ได้ กลืนลำบาก สำลักน้ำหรือแม้แต่น้ำลายตนเอง
- ปวดศีรษะรุนแรงทันทีทันใดแบบไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต มักร่วมกับมีการอาเจียน
- เวียนศีรษะบ้านหมุน นานมากกว่า 5 นาที โดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทาง มักเป็นร่วมกับการเดินเซ
ภาวะและโรคแทรกซ้อนจากการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน
การไม่มีแรงเดิน แขนขาอ่อนแรง เดินเซ กลืนลำบาก การไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองผิดปกติ ความดันโลหิตที่สูงมากกว่าปกติ รวมทั้งความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันตนเองจากการติดเชื้อโรค ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมากในช่วง 7 วันแรกหลังเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต นำไปสู่ความพิการที่มากขึ้น และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การป้องกันภาวะและโรคแทรกซ้อนใน ไอซียู เฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ที่เรียกว่า ?ห้องไอซียูรักษาเฉพาะอัมพาตระยะวิกฤต? หรือ ?Acute Stroke Unit? ช่วยลดอัตราตายและพิการของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันได้ 20-30% จากการศึกษาในต่างประเทศ
ภาวะและโรคแทรกซ้อนจากการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันที่พบได้บ่อย
1. อาการทรุดลงในระยะเริ่มต้น (Progressive stroke)
- พบได้ประมาณ 30-40% ของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันระยะ 3 วันแรก
- ทำให้อาการทรุดลงเช่นจากพอเดินได้ ยกแขนได้ แล้วอาการทรุดลงจนเดินไม่ได้ ยกแขนกำมือไม่ได้ ใน 2-3 วันแรก
อาจจะเกิดที่บ้าน(รายที่ไม่ได้ไปโรงพยาบาล) หรือระหว่างได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
- บางรายจากที่รู้ตัวดี ต่อมาซึมลงไม่โต้ตอบ ทรุดมากจนไม่รู้ตัวและโคม่า
- เกิดจากการที่สมองขาดเลือดมากขึ้น การอุดตันของหลอดเลือดเป็นซ้ำใหม่ ความดันลดมากเกินไปจากตัวผู้ป่วยเองหรือจาก
ยาลดความดัน จากไข้สูง จากการที่มีเลือดออกในสมองมากขึ้น หรือจากการที่สมองบวมใน 2-3 วันแรก
- การป้องกันไม่ให้เกิดอาการทรุดลงเป็นสิ่งที่ทำได้ โดยแพทย์ที่ดูแลต้องทราบถึงสาเหตุ กลไกการเกิดโรค คาดการณ์ได้และ
ป้องกันการทรุดลงแต่เนิ่นๆ
2. โรคปอดอักเสบจากการสำลัก (Aspiration pneumonia)
- เกิดได้จากการสำลักน้ำลาย หรืออาหารเหลว เข้าหลอดลมและลงในปอด ทำให้ปอดอักเสบ
- เกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากซึ่งพบได้ 30-50% ของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ 10-20%
- ผู้ป่วยเริ่มมีไข้วันที่ 2-3 หลังมีเกิดอัมพาต มีอาการไอ บางรายมีเสมหะเหลืองหรือเขียวข้น ถ้าเป็นมากจะหายใจเร็ว หอบ ต้องใส่
ท่อช่วยหายใจ และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
- การทดสอบการกลืน (Swallowing test) ตั้งแต่วันแรกที่เข้าโรงพยาบาล และการพยาบาลที่เข้าใจถึงกลไกการเกิดโรค
การเอาใจใส่ การจัดท่าผู้ป่วยให้สำลักลดลง การทำความสอาดในช่องปาก ช่วยป้องกันการเกิดปอดอักเสบได้
- ถ้าเกิดขึ้นแล้ว การรักษาแต่เนิ่นๆจะทำให้ผู้ป่วยหายเร็ว และไม่ทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตทรุดลงในระยะเฉียบพลัน
3. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- การไม่มีแรง การที่ยืนไม่ได้ ในผู้ป่วยที่มีอายุมาก ทำให้ปัสสาวะลำบาก โดยเฉพาะรายที่มีต่อมลูกหมากโต(ผู้ชาย)และ
ท่อปัสสาวะตีบ(ผู้หญิง)
- การที่ปัสสาวะไม่ออกหรือออกไม่หมด ทำให้ปัสสาวะค้างในกระเาะปัสสาวะ เชื้อโรคค้างและเพิ่มจำนวนขึ้น แล้วลุกลามไป
ที่ไต ทำให้กรวยไตอักเสบ ผู้ป่วยมีไข้ขึ้น หนาวสั่น ทำให้ความดันต่ำ ช็อก และทำให้อัมพาตทรุดลง ถ้าเชื้อโรคเข้ากระแสโลหิต
ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
- การพยาบาลที่เอาใจใส่ การบันทึกและเฝ้าระวังการปัสสาวะลำบาก การสวนปัสสาวะร่วมกับการให้ยา ที่ทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น
ช่วยลดการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้
- ผู้ป่วยที่มีกรวยไตอักเสบ ต้องได้รับยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม
4. โรคแผลกดทับ
- เกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่มีแรงพลิกตัวไปมา ทำให้นอนทับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนานเกินไป ผิวหนังของส่วนนั้นขาดเลือด
ไปเลี้ยง ทำให้ผิวหนังตาย พองหลุดลอกออก เชื้อโรคเข้าไปในเนื้อใต้ผิวหนัง เกิดการอักเสบ ถ้าทิ้งไว้จะลุกลามกินลึกลงไป
เรื่อยจนถึงกระดูก ระยะนี้การรักษาลำบากมาก
- ป้องกันไม่ให้เกิดได้โดยการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อเลือดไปเลี้ยงผิวหนังได้ทุกส่วนสลับกันไป
- ปัจจุบันภาวะนี้พบได้น้อยมาก จากการที่เข้าใจกลไกการเกิด และการพยาบาลที่ดีขึ้น
5. โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันโดยลิ่มเลือด (Deep vein thrombosis)
- เกิดจากการที่ขาไม่เคลื่อนไหว เลือดดำที่ไหลช้าอยู่แล้วเกิดแข็งตัวจับกันเป็นลิ่มเลือด
อุดตันหลอดเลือดดำที่ขา เป็นได้ตั้งแต่ น่องจนถึงโคนขา
- ผู้ป่วยมีการขาบวมข้างเดียว กดบุ๋มที่หน้าแข้ง หลังเท้า
- การที่ขาบวมไม่มีอันตราย แต่อันตรายเกิดจากลิ่มเลือดหลุดไปเข้าหัวใจแล้วหลุดต่อ
เข้าไปในปอดอุดตันหลอดเลือดแดงของปอด ทำให้เนื้อปอดตาย ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว
หอบ โดยไม่มีไข้ ถ้าเนื้อปอดตายมาก ทำให้เสียชีวิตได้
- แม้ว่ายังไม่ทราบว่าในผู้ป่วยไทยที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันเกิดภาวะนี้มาก
เท่าใด แต่ควรป้องกันไม่ให้เกิดโดย การใส่ ถุงเท้าที่บีบรัดขาไล่จากตาตุ่มขึ้นไปต้นขา
อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ลมช่วย (intermittent pneumatic compression stockings)
ในวันที่สองหลังเป็นอัมพาตเฉียบพลันหรืออาจจะใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวซึ่งมีทั้ง
ชนิดรับประทานหรือฉีดเข้าในผิวหนัง |
|
โรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยแต่ไม่อันตรายหรือพบได้ไม่บ่อย
- ภาวะปวดไหล่ ไหล่ทรุด และไหล่ติด
- การหกล้ม ตกเตียง
- หัวใจเต้นผิดปกติหรือหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน
- โรคซึมเศร้า เครียด
ห้องไอซียู รักษาเฉพาะอัมพาตระยะวิกฤต? ของโรงพยาบาลพญาไท1 (Phyathai Acute Stroke Unit)
เป็นห้องไอซียูขนาด 7 เตียง รับรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันใน 3 วันแรกที่เริ่มมีอาการ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตวิกฤตที่ต้องดูแลใกล้ชิด และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังผ่าตัด มีแพทย์ระบบประสาท แพทย์ผ่าตัดสมอง พยาบาลที่มีความรู้ความเข้าใจโรคอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดที่ดูแลเรื่องการกลืน เภสัชกรและนักกำหนดอาหาร เป็นทีมดูแลผู้ป่วย ร่วมกับการมีเครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลันโดยเฉพาะ มีจุดมุ่งหมายในป้องกันและแก้ไขโรคแทรกซ้อนอย่างทันที หลังจากเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน โดยการดูแลผู้ป่วยอย่างเอาใจใส่ และรักษาตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอัมพฤกษ์อัมพาต ลดความพิการและลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ?สายด่วนอัมพาตเฉียบพลัน?
1772 กด 7 สายด่วนโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
การดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยไม่เฉพาะเจาะจง ( General care of stroke )
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดต่าง ๆ จะมีอาการ ความพิการและโรคแทรกซ้อนคล้าย ๆ กัน นอกจากนี้ยังมีภาวะอื่น ๆ ที่พบร่วมเช่นกัน เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน ภาวะทุพโภชนาการ ทั้งน้ำหนักมากไปหรือน้อยไป เป็นต้น
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีหลักการรักษาร่วมกันซึ่งเป็นการร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์
หลายสาขา ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และนักกำหนดอาหาร (โภชนากร) โดยมีหลักใหญ่
ดังต่อไปนี้
|
การควบคุมความดันเลือด แพทย์คอยดูแลความคุมไม่ให้ความดันสูงหรือต่ำจนเกินไป
|
|
ระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์คอยดูแลไม่ให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ จนเกินไป เช่นกัน
|
|
การควบคุมระดับเกลือแร่ในร่างกาย มีการตรวจเช็คให้อยู่ในระดับปกติ. |
|
การให้อาหารเพียงพอเหมาะสม ผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาการกลืนจะสามารถรับประทานอาหารได้ แต่ในรายที่มีปัญหา
จะได้รับการใส่ท่อทางจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อได้รับ อาหาร น้ำ และยา
|
|
การฟื้นฟูสมรรถนะร่างกายด้วยการทำกายภาพบำบัด |
การฝึกหน้าที่การทำงานของร่างกายด้วยการทำกิจกรรมบำบัด
|
|
ภาพแสดง การทำกายภาพบำบัดโดยฝึกหัดเดิน
|
ภาพแสดง การทำกิจกรรมบำบัดโดยฝึกการใช้มือ |
การจัดท่านอนเพื่อป้องกันแผลกดทับและการสำลัก ในรายที่เดินไม่ได้การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง
ในท่าตะแคงซ้าย นอนหงาย และตะแคงขวาสลับกันไป
|
|
ภาพแสดง ท่าตะแคงซ้าย |
ภาพแสดง ท่านอนหงาย |
ในรายที่มีการกรนและ หยุดหายใจ ขณะหลับในตอนกลางคืนแนะนำให้ นอนตะแคงกึ่งคว่ำ เพื่อป้องกันปอดอักเสบ
จากสำลักน้ำลายขณะหลับ
|
|
ภาพแสดง ท่าตะแคงกึ่งคว่ำ |
ภาพแสดง ท่าตะแคงกึ่งคว่ำ |
|
การป้องกันการปวดไหล่ ไหล่ยึดติด และไหล่ตก
|
|
การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ พยาบาลคอยช่วยดูแลให้ผู้ป่วยได้ขับถ่ายตามปกติ
การระมัดระวังไม่ให้หกล้ม ในรายที่พอเดินได้แต่การทรงตัวไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อม
การดูแลอารมณ์ของผู้ป่วย |
|