3.การดูภาพหลอดเลือดสมอง ในเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ต้องฉีดสารทึบรังสี ทำได้โดยเครื่องรุ่นใหม่ ที่มีตัวรับภาพหลาย ๆ อันจากการยิงแสงเพียงครั้งเดียว เช่นเครื่องเอ็กซเรย์ 64 สไลด์ เรียกว่า CTA ( Computerized tomography angiography scan หรือ CTA scan ) ส่วนเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถ ทำได้โดยไม่ ต้องฉีดสารทึบแสงเรียกว่า MRA (Magnetic resonance angiography )
การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดที่ขาดเลือดเฉียบพลัน(AIS) หลัง 4.5 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื้อสมองที่ขาดเลือดจะตายทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด การเปิดหลอดเลือดโยยาละลายลิ่มเลือด ไม่ช่วยให้เนื้อสมองฟื้นตัว แต่อาจทำให้มีโอกาสเลือดออกในสมองเพิ่มขึ้นได้ จึงห้ามใช้ยาละลายลิ่มเลือดใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ การรักษาด้วยยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ ยาต้านเกล็ดเลือด ( Antiplatelet ) ผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดสมองอุดตันมีโอกาสเป็นซ้ำได้ประมาณ 10 % ในสัปดาห์แรก การให้ยาต้านเกล็ดเลือดภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการจะช่วยลดการเป็นซำได้ประมาณ 25 % ยากลุ่มนี้ได้แก่ แอสไพริน (Aspirin )ไดไพริดาโมล (clopidogel) คลอพิโดเกล (dipyridamole) ผสมกับแอสริน, ไซลอสตาซอล (cilostazol) และไตรฟูซอล ( trifuxal) ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ( Anticoagulant ) แพทย์บางท่านเรียกยากลุ่มนี้ว่ายาละลายลิ่มเลือดหรือยาละลาย ก้อนเลือด ซึ่งอาจจะสับสนกับยากลุ่ม Thrombolysis ได้ ยากลุ่มนี้เลือกใช้ในกรณีที่การอุดตันของหลอดเลือด เกิดจากก้อนเลือดในช่องหัวใจหลุดออกมาติดในหลอดเลือดสมอง และมักใช้ในกรณีที่หลอดเลือดสมองที่อุดตัน มีขนาดไม่ใหญ่มาก เวลาที่เริ่มใช้ขึ้นอยู่กับแพทย์แต่ละท่านและยังใช้ป้องกันหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันจากการเป็น อัมพาต ยามีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน ชื่อยาได้แก่ เฮบปะริน (Heparin ) เป็นชนิดฉีด และ วอร์ฟาริน ( Wafarin ) เป็นเม็ดรับประทาน ยาลดความดัน แพทย์มักให้ยาลดความดันเม่อความดันสูงกว่า 220/120 มม.ปรอท และในกรณีที่ให้ยาละลาย ลิ่มเลือด ( rtPA)ควรจะลดความดันเมื่อสูงกว่า 185/110 มม.ปรอท ยาป้องกันเซลล์สมองตาย หรือยาบำรุงเซลล์สมอง ( Neuroprotective and Neurotropic drug )
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันด้วยการผ่าตัด เมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงจะเกิดการบวมน้ำ ซึ่งพบได้ตั้งแต่ 12 ชั่วโมงเป็นต้นไป และจะบวมมากที่สุดใน วันที่ 3-5 หลังจากนั้นจะหยุดบวม และค่อย ๆ ยุบตัวลงเหลือขนาดเท่าเดิมที่ 2-3 สัปดาห์ และกลายเป็นน้ำ หรือ อาจจะเรียกว่า แผลเป็น โดยขนาดจะเล็กลงในที่สุด ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดขนาดใหญ่อุดตันจะเกิดการตายของเนื้อสมองที่มีขนาดใหญ่ เห็นได้จากจากภาพถ่าย สมอง ซีทีแสกน หรือ เอ็มอาร์ไอ โดยเฉพาะถ้าสมองที่ตายเป็นส่วนที่เลี้ยงด้วยหลอดเลือดสมองอันกลาง ( MCA ) สมองจะบวมมากจนไปกดเบียดสมองส่วนที่ดี และยังดันเบียดสมองซีกหนึ่ง ที่สำคัญคือ การเบียดกดก้านสมอง จะทำให้ผุ้ป่วยซึมลง ต่อมาจะหมดสติ โคม่า หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ทำให้เสียชีวิตในที่สุด การผ่าตัดโดยการตัดกระโหลกศีรษะด้านที่มีเนื้อสมองตายออกขนาดเท่าฝ่ามือ เพื่อให้สมองส่วนที่ตาย และบวมน้ำดันออกมานอกกระโหลกศีรษะ ลดภาวะการเบียดกดสมองส่วนที่ดีและก้านสมอง ช่วยให้อัตราเสียชีวิต ผู้ป่วยลดลงเหลือเพียง 20 %